กฎหมายแพ่ง (อังกฤษ: Civil law) เป็นกฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิด เอกเทศสัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก
กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา
กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น
ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก
เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัด
กฎหมายอาญา” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้สำหรับควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้จะต้องได้รับโทษทางอาญา โทษทางอาญา แบ่งได้ 5 ชนิด คือ
1. ประหารชีวิต (เอาไปยิงเสียให้ตาย)
2. จำคุก (เอาไปขังในเรือนจำ)
3. กักขัง (เอาไปกักขัง หรือควบคุมไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ)
4. ปรับ (ปรับเป็นเงินให้รัฐ)
5. ริบทรัพย์สิน (ริบเอาสิ่งของเงินทอง เป็นของรัฐ)
การที่จะต้องรับผิดในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทำการใดๆ ในขณะที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่า การกระทำนั้นๆ เป็นความผิดทางอาญา และ บุคคลนั้นต้องได้กระทำไปโดยมีเจตนาด้วย เว้นแต่ว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า แม้จะไม่ได้มีเจตนา ก็ให้ถือว่าเป็นความผิด เช่น กระทำโดยประมาท กระทำไปโดยไม่มีเจตนา เป็นต้น ความผิดทางอาญา มี 2 ประเภท คือ
1. ความผิดต่อแผ่นดิน ยอมความกันไม่ได้ เช่น ฆ่าคนตาย ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์
2. ความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดที่ยอมความกันได้ เช่น ยักยอกทรัพย์ หมิ่นประมาท
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับข้องการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนของหมออนามัย เช่น
ความผิดเกี่ยวกับการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการ ทรัพย์ ชีวิตร่างกายผู้อื่น การปลอม เสรีภาพ